Audience Network คืออะไร?
แต่สิ่งที่จะค่อนข้างแตกต่างอยู่หน่อยสำหรับ Audience Network ก็คือตำแหน่งการแสดงผลของ Audience Network นี้ จะไม่ได้แสดงอยู่บนแพลตฟอร์มของ Facebook ครับ
ถ้าพูดให้เห็นภาพง่ายๆก็จะคล้ายกับ instagram คือตัวโฆษณานั้นจะไปแสดงอยู่บนแอพพลิเคชั่นของ instagram (ใครเคยตั้ง Placement เป็น ig ก็น่าจะพอนึกออกกันดี)
เจ้า Audience Network นี้ก็คล้ายๆกันครับ คือมันจะไปแสดงอยู่บนแอพพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ ที่มีการติดตั้งโค๊ดจากเฟสบุคเพื่อให้โฆษณาไปแสดงอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ตามที่เจ้าของแอพนั้นๆเซ็ตเอาไว้ โดยที่ยังคงความสามารถของการตั้งกลุ่มเป้าหมายแบบ People-Based ของเฟสบุคเอาไว้อยู่
.
.
อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะตั้งคำถามครับว่า แล้วโฆษณาของเราอาจจะแสดงผลได้ดีมั้ย? เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าแอพพลิเคชั่นไหนจะติดตั้งการแสดงผลเอาไว้ยังไง หรือโฆษณาของเราจะไปแสดงผลอยู่กับบทความที่ไม่เหมาะสมกับสินค้าของเรารึเปล่า?
ตรงนี้ส่วนตัวผมว่าไม่น่ากังวลนะครับ ตรงนี้ทางเฟสบุคเค้าก็จะมีการรีวิวตลอดอยู่แล้วนะครับ ทั้งก่อน และระหว่างที่แอพพลิเคชั่นนั้นๆ มีการดึงโฆษณาไปแสดง และยังมีการให้คะแนนแอพพลิเคชั่นที่มีการแสดงโฆษณาแล้วมีผลตอบรับดีจากผู้ใช้งานแอพอีกด้วย ดังนั้นหากแอพพลิเคชั่นไหนที่มีประวัติในการแสดงผลดี โฆษณาของเราก็จะมีโอกาสได้ไปแสดงที่นั่นมากขึ้นนั่นเอง
และนอกจากนั้น ตัวเราเอง (ผู้ลงโฆษณา) ยังสามารถเซ็ตได้ในระดับนึงอีกด้วย หากเราไม่ต้องการให้โฆษณาของเราไปแสดงบนแอพพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ไหน แบบเฉพาะเจาะจง รวมถึงการเลือกบล็อกแบบเป็นหมวดหมู่ (เฟสบุคมีการแบ่งหมวดหมู่ของแต่ละแอพ และ หน้าเอาไว้ในขั้นตอนการรีวิว)
แล้วการที่เราเลือกลงโฆษณาบนพื้นที่ของ Audience Network นี้ จะส่งผลยังไงกับแคมเปญของเรา?
ส่วนข้อเสียคือในตอนนี้เรายังไม่สามารถจำกัด หรือเลือกพื้นที่ที่เราต้องการให้แสดงโฆษณาของเรา ได้มากพอ ถึงแม้ว่าตอนนี้ทางเฟสบุคจะมีการตั้งค่าให้เราปรับในส่วนของหมวดหมู่ที่เราไม่ต้องการให้โฆษณาของเราไปแสดงได้ แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้แบบละเอียดพอ
รูปแบบการโฆษณาของ Audience Network
ในตอนนี้รูปแบบที่ทางเฟสบุคปล่อยให้เจ้าของแอพหรือเว็บไซต์ นำไปใช้ได้ประกอบด้วย
– Banner ส่วนมากจะเป็นแบนเนอร์เล็กๆ อยู่ทางด้านล่างสุด
– interstitial จะเป็นรูปแบบโชว์เต็มหน้าจอ เช่นเวลาที่เราเล่นเกมส์จบแล้วจะมีโฆษณาขึ้นมาแบบเต็มหน้าจอ
– Native Ads เป็นรูปแบบที่เจ้าของแอพสามารถกำหนดหน้าตาได้ในระดับหนึ่ง เพื่อให้รูปแบบของโฆษณาเข้ากับหน้าตาของแอพพลิเคชั่นนั้นๆ
– in-steam คือวิดีโอโฆษณาที่จะเล่นก่อน หรือระหว่างวิดีโอหลัก
ซึ่งตอนนี้เฟสบุคเค้าเน้นให้แสดงผลบนมือถือเท่านั้น คือสามารถใช้ได้กับแอพพลิเคชั่น และเว็บไซต์บนมือถือเท่านั้น โดยมีเพียง in-steam วิดีโออย่างเดียวที่สามารถแสดงบน Desktop ได้ในตอนนี้ครับ
อ่อลืมบอกครับ สำหรับผู้ลงโฆษณานั้น ตอนนี้จะยังไม่สามารถเลือกได้นะครับว่าจะให้โฆษณาของเราไปแสดงแบบไหน แต่ทางเฟสบุคก็บอกมาเหมือนกันว่ากำลังพัฒนาในส่วนนี้อยู่
อีกเรื่องนึงก็คือ ตอนนี้ไม่ใช่ทุกๆแคมเปญนะครับที่จะใช้เจ้า Audience Network นี้ได้ ดังนั้นผมแนะนำให้ทดลองตอนสร้างโฆษณาเลยครับ ลองกดดูพรีวิวของโฆษณาดู ถ้าอันไหนไม่ได้มันจะมีขึ้นเตือนอยู่ครับ
รายละเอียดของแคมเปญโฆษณาที่ใช้ Audience Network ได้ตอนนี้ผมสรุปให้ดูเป็นประมาณนี้นะครับ
– Brand awareness (เฉพาะ video)
– Reach (เฉพาะ video)
– Traffic
– Engagement (เฉพาะ video)
– App installs
– Video views (เฉพาะ video)
– Conversions
– Product catalog sales
สุดท้ายนี้ทางเฟสบุคเค้าก็คุยไว้นะครับ ว่าถ้าใช้ Audience Network แล้วจะทำให้ค่าโฆษณาของคุณถูกลง และยังทำให้การเข้าถึงดีขึ้น ส่งผลให้การจดจำแบรนด์ และความต้องการซื้อเยอะขึ้น ใครอยากรู้ว่าจริงมั้ย จะเหมาะกับธุรกิจของเรารึเปล่า? ผมก็แนะนำให้ลองทำ A/B Test กันดูนะครับ
.
.
สุดท้ายนี้ผมว่ามีของใหม่ให้ใช้ก็ต้องลองดูครับไม่เสียหายอะไรอยู่แล้ว
ขอให้สนุกกับมันนะครับ ^^