EEAT คืออะไร ทำความรู้จักหลัก Google แบบใหม่หลังอัพเกรด

EEAT หากใครที่ไม่เคยได้ศึกษาหรือทราบหลักการทำ SEO มาก่อนก็อาจจะคงงง ๆ กับตัวอักษรทั้ง 4 ตัวที่กำลังพูดถึงอยู่สักหน่อย แต่สำหรับคนในแวดวง SEO นั้น เชื่อได้ว่าจะต้องรู้จัก หรือ เดา ได้อย่างแน่นอนว่าเจ้า E-E-A-T ที่ว่านี่คืออะไร แล้วทำไมมันจึงสำคัญกับการทำเนื้อหาเพื่อตอบโจทย์ Search Engine

ดังนั้น เพื่อเป็นคำตอบให้กับคนที่สงสัยและเพื่อเป็นการทวนให้นัก SEO ทุก ๆ คน ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับเจ้าตัวอักษรทั้ง 4 ตัวนี้ไปพร้อม ๆ กัน

EEAT คืออะไร ทำไมเราจึงต้องให้ความสำคัญในการทำ SEO?

เพราะในการทำ SEO นั้น จริงอยู่ที่ส่วนสำคัญหลัก ๆ จะขึ้นอยู่กับตัวเนื้อหาที่นักทำ SEO นำมาเรียบเรียงให้ดูมีความน่าสนใจและและตอบโจทย์ให้กับ User ที่เข้ามาทำการค้นหาอยู่เสมอ ยังไงก็ตาม เราไม่ทำการเรียบเรียงเนื้อหาหน้านั้น ๆ ไปเฉย ๆ เขียนไปเรื่อย ๆ แล้วรอให้ User เข้ามาพบเอง แต่การนำเสนอข้อมูลอย่างมีหลักการและตรงตามความเหมาะสมในสายตาของ Google ต่างหากคือปัจจัยที่ทำให้ User ค้นหาเราพบ และจะพบได้ง่ายขึ้นหากหน้าเนื้อหานั้น ๆ ได้รับการ Ranking ซึ่งเจ้า E-E-A-T นี่เองที่จะสามารถช่วยได้

ก่อนรู้จัก E-E-A-T  ต้องรู้จัก E-A-T ก่อน

จากที่ได้บอกไปว่า การปรับหลักการในการทำ SEO ในครั้งนี้ ถือเป็นการอัพเดทครั้งใหม่ ซึ่งก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับหลักการก่อนหน้านี้ที่นักทำ SEO ส่วนใหญ่ยึดเป็นหลักการ และเนื่องจาก E-E-A-T ก็เป็นหลักที่ต่อยอดมาจาก E-A-T นั่นเอง ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้อ่านทุก ๆ คนต้องทำความรู้จักกับหลักปฐมบทซะก่อน

E-A-T ย่อมาจาก…

  • E (Expertise)  ความเชี่ยวชาญ
  • A (Authoritativeness) ความเป็นเจ้าของผลงาน
  • T (Trustworthiness) ความน่าเชื่อถือของผลงาน

ซึ่งจะมีรายละเอียดที่ซ่อนอยู่ในตัวอักษรแต่ละตัว ดังนี้

E (Expertise)  ความเชี่ยวชาญ

เป็นแนวทางในการเรียบเรียงเนื้อหาตามหลัก SEO ที่ Google มองว่ามีความเหมาะสมและน่าเชื่อถือ ซึ่ง E : Expertise เป็นแนวทางที่นักทำ SEO ต้องวางตัวเป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ อย่างลึกซึ้ง ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่ง Google จะมองว่ามันคือความรู้ความเชี่ยวชาญที่เรามี ซึ่งจะดึงดูดความสนใจของคนที่ชอบในเรื่องเดียวกันเข้ามายังคอนเทนต์ของคุณหรือบนเว็บไซต์ของเราได้นั่นเอง

A (Authoritativeness) การเป็นเจ้าของบทความ

เพราะในปัจจุบันเกิดการลอกเลียน Content กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งหาก Google จับได้ ก็จะปรับให้เว็บไซต์นั้น ๆ ร่วงจากอันดับอีกด้วย ฉะนั้น การเป็น Original หรือแสดงตัวว่าเราเป็นเจ้าของบทความ จะทำให้ Google มองว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญและทำให้บทความหรือหน้าเนื้อหาที่เราเรียบเรียงถูกจัดอันดับได้ดีขึ้นและอยู่ในอันดับต้น ๆ ได้ด้วยเช่นเดียวกัน

T (Trustworthiness) ความน่าเชื่อถือของผลงาน

หลังจากที่นักทำ SEO เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีผลงานที่เป็นของตัวเองแล้ว สิ่งที่จะตามมาต่อจากนี้ก็คือ T ตัวสุดท้าย นั่นคือ Trustworthiness หรือ ความน่าเชื่อถือในผลงานนั่นเอง โดยสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ User จะตัดสินและเป็นคนให้ ซึ่งเบื้องต้น หากนัก SEO คนไหนที่ดำเนินการตามแนวทางของอักษร 2 ตัวแรกอย่างครบถ้วน ก็จะสามารถทำให้ตัว T ตัวสุดท้ายตามมาได้เช่นเดียวกัน

และนี้คือหลักการแรกฉบับ E-A-T ที่นัก SEO หลาย ๆ คนรู้จักและให้ความสำคัญโดยดำเนินการทำงานตามแนวทางของอักษรทั้ง 3 ตัวนี้มาอย่างยาวนาน โดยในภายหลัง Google ได้ทำการอัพเดท E-A-T ให้มี E อีกหนึ่งตัวเพิ่มเข้ามา กลายเป็น E-E-A-T นั่นเอง

แล้ว E-E-A-T คืออะไร ต่างจาก E-A-T ยังไง?

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เชื่อว่านักทำ SEO หลาย ๆ คนคงพอเข้าใจแล้วว่า E-A-T คืออะไร และมีความสำคัญยังไงกับการทำ SEO ซึ่งสำหรับในปีที่ผ่าน ๆ มาเจ้าอักษร 3 ตัวที่กล่าวมาเป็นแนวทางที่ตอบโจทย์การทำเนื้อหาให้ถูกใจอัลกอริทึมของ Google ได้เป็นอย่างดี แต่ในปัจจุบัน แค่เฉพาะ 3 ตัวนี้อาจไม่เพียงพออีกต่อไป ดังนั้น จึงได้มีการอัพเดทโดยเพิ่ม E มาอีก 1 ตัว ซึ่งจะเป็นอะไรนั้น มาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กัน

E-E-A-T ย่อมาจาก…

  • E (Experience) ประสบการณ์
  • E (Expertise)  ความเชี่ยวชาญ
  • A (Authoritativeness) ความเป็นเจ้าของผลงาน
  • T (Trustworthiness) ความน่าเชื่อถือของผลงาน

E (Experience)  ประสบการณ์

สำหรับ E ตัวนี้จะมี Concept คล้าย ๆ กับ E:Expertise  หรือ ความเชี่ยวชาญ โดย E:Experience ตัวนี้ก็เป็นความเชี่ยวชาญเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นความเชี่ยวชาญที่ได้มาจากประสบการณ์การใช้สินค้า หรือบริการ นั้น ๆ โดยตรง ซึ่งหากจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นระหว่างความแตกต่างของ E ทั้ง 2 ตัวนี้ก็คือ E:Expertise จะเน้นความเชี่ยวชาญตามหลักทฤษฎี ในขณะเดียวกัน E:Experience จะเน้นที่ความเชี่ยวชาญในหลักปฏิบัติจริงที่สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

เช่น หากเราต้องการทราบข้อมูลในหัวข้อ การเงิน แน่นอนว่าเราต้องอ่านเนื้อหาของนักวางแผนด้านการเงิน ที่จะมีความเชี่ยวชาญด้านการวางแผนในเรื่องของการใช้ / เก็บงบประมาณ แต่ในขณะเดียวกันเราก็อาจจะต้องการเรียนรู้จากผู้ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางแต่มีประสบการณ์ในการวางแผนด้านการเงินแล้วได้ผลด้วยเช่นกัน

โดยหลัง ๆ ที่ผ่านมา Google จะชอบและเชื่อถือบทความใน Concept นี้มากขึ้นและมองว่าเป็นประโยชน์ต่อ User ของมัน ฉะนั้น สำหรับนักทำ SEO ท่านไหนที่กำลังวางแผนเรียบเรียงเนื้อหา ก็สามารถนำหลัก E-E-A-T ไปลองปรับใช้ได้ เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

บทความที่น่าสนใจ

แชทบอท Facebook ผู้ช่วยตอบแชทที่แบรนด์ยุค 2022 ควรมี

พึ่งเริ่มลงโฆษณาบน Facebook ควรใช้งบต่อวันเท่าไหร่ดี?

“Clicks” แต่ละประเภทในรายงานโฆษณา Facebook แตกต่างกันอย่างไร?