ใครที่กำลังสงสัยเรื่องนี้ ลองหยุดอ่านบทความนี้ซักครู่ ผมมั่นใจว่าคุณจะเห็น Digital Marketing ในมุมมองที่กว้างขึ้นอย่างแน่นอนครับ
Digital Marketing คืออะไร?
นักการตลาดหลายสำนัก scope ความหมายของมันแตกต่างกันออกไป โดยความหมายที่เราอาจได้ยินกันบ่อยๆ คือ มักบอกว่ามันเป็น การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อดิจิทัล เช่น การลงโฆษณาใน social platform / search engine ต่างๆ เช่น Facebook, Google เป็นต้น
มันก็ถูกส่วนหนึ่งครับ
แต่จริงๆแล้ว โลกของ Digital Marketing
"มันกว้างกว่านั้นมากๆ"
1. Product
P ตัวแรก คือ สินค้าและบริการที่คุณจะขายให้กับผู้บริโภค
ยุคนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในการช่วยให้ธุรกิจปรับปรุงสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น เช่น ก่อนที่ธุรกิจจะปล่อยสินค้าเข้าสู่ตลาด เทคโนโลยีช่วยให้คุณล่วงรู้ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าในแบบที่ไม่เคยรู้มาก่อนผ่านการเก็บข้อมูล ส่งผลให้คุณสามารถผลิตสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด และเพิ่มโอกาสที่สินค้าจะประสบความสำเร็จในตลาดได้
เทคโนโลยีช่วยให้คุณสามารถสร้างสินค้าที่ล้ำสมัย เช่น พวกสินค้า IoT ต่างๆ หรือแม้กระทั่งเพิ่มคุณค่าของสินค้า/บริการที่คุณมีอยู่ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคมากขึ้น เช่น การเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าเข้าถึงบริการได้สะดวกยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ในยุคดิจิทัลที่คนมักซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งไม่ได้เห็นและจับต้องสินค้าจริงๆ เทคโนโลยียังสามารถช่วยให้การนำเสนอสินค้าลักษณะนี้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ด้วยการแสดงให้เห็นภาพผ่าน format ในการนำเสนอที่หลากหลาย เช่น ภาพนิ่ง / VDO / LIVE / Augmented Reality(AR) ฯลฯ แถมเทคโนโลยียังเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลความคิดเห็นจากลูกค้าคนอื่นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจได้อีกด้วย
2. Price
P ตัวที่สอง คือ ราคาของสินค้าหรือบริการ หรืออะไรก็ตามที่ลูกค้าต้องแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการของคุณ
อย่างที่ผมบอกไปในตอนต้นว่าเทคโนโลยีช่วยให้คุณเข้าถึงข้อมูลของผู้บริโภคได้อย่างมหาศาล ซึ่งแน่นอนว่ามันเปิดโอกาสให้คุณตั้งราคาให้เหมาะกับผู้บริโภคแต่ละคนได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณสามารถ track การเข้าชม website ของลูกค้าได้ว่าเค้าเข้าชมสินค้าตัวไหน คุณก็สามารถส่งราคาโปรโมชั่นของสินค้านั้นไปให้ลูกค้าได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยุคนี้ยังเป็นยุคที่การสร้าง “คุณค่า” เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเทคโนโลยีทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลได้อย่างอิสระ และสามารถเลือกแบรนด์ที่พวกเค้าต้องการได้ตามใจ แบรนด์ที่ขายถูกกว่า ไม่ได้เป็นผู้ชนะเสมอไป แต่เป็นแบรนด์ที่สามารถสร้างคุณค่าให้แก่ผู้บริโภคได้มากกว่าต่างหากที่เป็นผู้ชนะ
เพราะฉะนั้นการที่แบรนด์ใช้ข้อมูลที่มีในมือให้เป็นประโยชน์ในการสร้างประสบการณ์ได้ตรงใจผู้บริโภค ก็จะช่วยให้แบรนด์มีอำนาจในการตั้งราคาได้มากขึ้นตามไปด้วย เพราะสมัยนี้ผู้บริโภคมักมองถึงคุณค่าที่แบรนด์ส่งมอบให้เค้ามากกว่ามานั่งคิดว่ามันถูกหรือแพง ตราบใดที่มันคุ้มค่า เค้าก็ยินดีจะจ่ายครับ
3. Promotion
P ตัวที่ 3 คือ การสื่อสารทางการตลาด หรือการทำให้ผู้โภครู้จักสินค้าของเรา ไปจนถึงโน้มน้าวให้เค้ามาซื้อของๆเรา เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขายต่างๆ ครับ
เทคโนโลยีทำให้ P ตัวนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ลองนึกภาพดูว่า จากแต่ก่อน แบรนด์จะโฆษณาอะไรแต่ละที ก็มีทางเลือกในการใช้สื่ออยู่อย่างจำกัด เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ทีวี วิทยุ เป็นต้น ซึ่งแบรนด์แทบจะไม่รู้เลยว่า ใครเป็นผู้รับสารจริงๆกันแน่ ตรงกับคนที่แบรนด์ต้องการรึเปล่า แถมการวัดผลของโฆษณาก็ค่อนข้างลำบาก ไม่พอแบรนด์ต้องใช้งบในการโฆษณาค่อนข้างเยอะเลยทีเดียวกว่าสินค้า/บริการจะเป็นที่รู้จัก แต่ทุกวันนี้ เทคโนโลยีเอื้อประโยชน์ต่อการสื่อสารการตลาดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับธุรกิจรายย่อย ธุรกิจมีทางเลือกในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นเยอะกว่าแต่ก่อนมาก ในต้นทุนที่ต่ำกว่ามากอีกด้วย เช่น การสื่อสารผ่าน Social media, Search marketing , Email marketing, Content marketing, Website ฯลฯ
ซึ่งในหลายๆ platform ธุรกิจสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ตามที่ต้องการ แถมสามารถติดตามและวัดผลลัพธ์ในการสื่อสารได้แบบละเอียดยิบอีกด้วย ซึ่งมันโคตรดีกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีงบประมาณจำกัด จะมีอะไรดีไปกว่า การสื่อสารที่คุณสามารถเลือกคนคุยด้วยได้ ไม่ต้องใช้เงินเยอะ แถมวัดผลลัพธ์ได้อีกล่ะครับ
4. Place
P ตัวที่ 4 คือ ช่องทางที่คุณจะขายหรือกระจายสินค้าของคุณไปสู่ผู้บริโภคครับ
แต่ก่อนธุรกิจอาจจะขายสินค้าแค่หน้าร้าน แต่ตอนนี้ธุรกิจมี option ให้วางขายสินค้ามากมาย ทั้งบน website, e-commerce, social meadia ต่างๆ โดยสิ่งสำคัญที่ธุรกิจต้องคำนึงคือ จะทำอย่างไรให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าและบริการของคุณได้ง่ายและสะดวกที่สุด โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นหลัก เพราะเดี๋ยวนี้ ถ้าลูกค้าซื้อของยากหน่อย ติดต่อลำบากหน่อย เค้าก็เปลี่ยนใจไม่ซื้อกันได้ง่ายๆเลยครับ
นอกจากธุรกิจควรมีช่องทางในการเข้าถึงที่หลากหลายแล้ว ธุรกิจจะต้องเชื่อมโยงแต่ละช่องทางให้ดูแลลูกค้าได้อย่างสอดคล้องกันด้วยนะครับ เช่น ช่องทาง A, B และ C ควรจะมีฐานข้อมูลของลูกค้าชุดเดียวกัน เวลาสื่อสาร หรือติดต่อกับลูกค้า จะได้ไปในทิศทางเดียวกันครับ
ความแตกต่าง
ที่สังเกตุเห็นได้จากการทำการตลาดในยุคสมัยก่อน กับยุคดิจิทัลคือ
แต่ก่อน P แต่ละตัว จะค่อนข้างแยกออกจากกันเป็นเอกเทศ แต่ในยุคนี้ P แต่ละตัว มีความทับซ้อนกันอยู่ เช่น สื่อที่ใช้ในการโปรโมท ก็มักเป็นตัวเดียวกันกับช่องทางการขายด้วย การปรับปรุงสินค้า/บริการให้ตอบโจทย์ลูกค้า บางทีก็ไปซ้อนทับกับการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นต้น แต่สุดท้ายไม่ว่าสมัยไหน การทำการตลาดก็ยังมีหัวใจสำคัญเดียวกันคือ การพยายาม mix ตัว P เหล่านี้ ให้สามารถสร้างประสบการณ์ที่กลมกล่อมที่สุดให้แก่ลูกค้าให้ได้
และนี่ก็คือ การเล่าคร่าวๆเกี่ยวกับ Digital Marketing ครับ หวังว่าคงพอจะทำให้ทุกท่านเห็นภาพกันว่า มันเป็นอะไรที่มากกว่าแค่การทำโฆษณาออนไลน์ มันครอบคลุมทุกมิติของการทำการตลาด และยังมีรายละเอียดอีกมาก ซึ่งคุยกันได้ไม่รู้จบ อย่างไรก็ตาม ผมขอยืนยันว่า ทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ต้องศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ และพยายามเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้กับธุรกิจของเราให้ได้ เพราะเมื่อโลกเปลี่ยนไป สิ่งที่น่ากลัวที่สุด ไม่ใช่คู่แข่ง ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมหรือเทคโนโลยี แต่เป็นการที่เราไม่ยอมเดินไปข้างหน้าต่างหาก ผมจึงอยากชวนให้ทุกคนมาเดินไปข้างหน้าด้วยกันนะครับ
มีประโยชน์ฝากช่วยแชร์ด้วยนะครับ #MaxideaStudio
ประชาสัมพันธ์
สำหรับท่านใดที่อ่านบทความนี้แล้ว สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับการทำโฆษณา Facebook Ads ต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้โฆษณาเฟสบุคเพื่อเพิ่มยอดขาย และ สร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ทางเรามีคลาสสอนทำโฆษณาเฟสบุ๊ค “แบบกรุ๊ปขนาดเล็ก” เนื้อหาอัดแน่นตลอด 2 วันเต็ม
รอบการสอนถัดไป
• วันพุธ-พฤหัส ที่ 7-8 ตุลาคม 2563
• เรียนกลุ่มละ 15 คน
• สถานที่เรียน : Maxidea Co-Playing Space (ซอยลาดพร้าว 71)